แผนการดำเนินงาน ขอบเขต และวิธีการศึกษา
แผนการดำเนินงาน
ในการศึกษาเรื่องการออกแบบสารสนเทศแก้ไขการจราจรภายในโรงพยาบาลแก่ผู้มาใช้บริการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
1.รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น2.สร้างแบบสอบถาม
3. เก็บรวบรวมข้อมูล
4. วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล
5. จัดทำและนำเสนอรายงาน
ขอบเขตการศึกษา
ขอบเขตเนื้อหาในการศึกษาครั้งนี้ จะศึกษาเฉพาะเรื่อง ระบบการจราจร (Transportation System), เครื่องหมายและทฤษฎีเกี่ยวกับสัญศาสตร์ (Sings and Semiology) , สัญลักษณ์ (Sign)และสัญรูป (Icon) , การรับรู้ และทฤษฎีการรับรู้ (Perception), การออกแบบปฏิสัมพันธ์ (Interface Design) >
ขอบเขตประชากร
ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ที่เข้าใช้บริการของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 10 ราย
ขนาดตัวอย่างและวิธีการคัดเลือกตัวอย่าง
ในการศึกษาครั้งนี้ กำหนดขนาดตัวอย่างจำนวน 10 ราย ผู้ที่เข้าใช้บริการของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วย, ญาติผู้ป่วย , ผู้ติดต่อธุรกรรม
และเต็มใจในการให้สัมภาษณ์
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลข้อมูลปฐมภูมิ คือ (แบบสอบถาม หรืออย่างอื่น) โดยแบ่งออกเป็น 7 ส่วนคือ (แบ่งให้สอดคล้องกับขอบเขตเนื้อหาและขอบเขตประชากร)
ส่วนที่ 1 รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ร่วมกับกลุ่มตัวอย่าง
ส่วนที่ 2 รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสาร เว็ปไซต์ และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ส่วนที่ 3 ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ที่คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือและให้คำแนะนำในงานวิจัยนี้ได้
ส่วนที่ 4 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ระบบสารสนเทศการจราจรแบบทดสอบ และจัดแบบสัมภาษณ์
ส่วนที่ 5 ตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่สัมผัสที่ออกแบบกับผู้เชี่ยวชาญ
ส่วนที่ 6 นำระบบสารสนเทศการจราจรไปทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง ตามขอบเขตการศึกษาที่ได้กำหนด
ส่วนที่ 7 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้
การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลที่รวบรวมได้จากการสัมภาษณ์ จะนำมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)
นิยามศัพท์
ผู้เข้าใช้บริการ หมายถึง ผู้ที่เข้าใช้บริการของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วย, ญาติผู้ป่วย , ผู้ติดต่อธุรกรรม
ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่ได้รับการออกแบบให้สามารถจัดการการจราจรภายในโรงพยาบาลมหาราชแก่ผู้เข้าใช้บริการ สามารถที่จะชี้นำ ชี้แนะ เส้นทางไปยังพื้นที่การใช้บริการได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และสะดวกในการใช้งาน
สถานที่ในการดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูล
ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้สถานที่ในการดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูลดังนี้
1. สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จะดำเนินการที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ระยะเวลาในการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้ คาดว่าจะใช้เวลาทั้งสิ้น 4 เดือน ดังนี้
เอกสารอ้างอิง
จิรกา เต็งไตรรัตน์, นพมาศ ธีรเวคิน, รัจรี นพเกตุและรัตนา ศิริพานิช. (2543). จิตวิทยาทั่วไป.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.
คณะคุรุศาสตร์ : สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์, (หน้า 214).
เอื้อเอ็นดู ดิสกุล ณ อยุธยา. (2543). ระบบป้ายสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ : เพลสพลัส.
Content 1| Content 2| Content 3