Independent Study

แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง



แนวคิดและทฤษฎี

การจราจร (Transportation) คือ การเปลี่ยนหรือย้ายในทางพื้นที่ ของ คน สินค้า ข้อมูล และพลังงาน

การขนส่ง (Transport) คือ การกระทำเพื่อทำให้เกิดการจราจร นั่นคือ คน สินค้า ข้อมูล และพลังงาน เปลี่ยนหรือย้ายในทางพื้นที่ด้วยการขนส่ง

การสัญจร (Mobility) คือ การเปลี่ยนพื้นที่ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่งระหว่างหน่วยใดหน่วยหนึ่งในระบบการจราจร (Position Mobility, Circulation Mobility, and Social Mobility) ในการเดินทางหนึ่งครั้งมีการสัญจรมากกว่าหนึ่งประเภท การสัญจรประกอบไปด้วยผู้เดินทาง และองค์ประกอบในการเดินทาง ได้แก่ ความถี่ ระยะทาง และระยะเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนพื้นที่

ระบบการจราจร (Transportation System) ประกอบด้วยยานพาหนะและโครงสร้างพื้นฐานด้านการจราจร ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเปลี่ยนหรือย้ายในทางพื้นที่

การจราจรแบบสัมบูรณ์ (Absolute Transportation) คือ ประเภทของการเดินทางซึ่งจัดแบ่งตามเป้าหมายของการเดินทาง ตัวอย่างเช่น การเดินทางไปทำงาน การเดินทางเพื่อจับจ่ายใช้สอย เป็นต้น

การจราจรแบบเกี่ยวเนื่อง (Relative Transportation) คือ ประเภทของการเดินทางซึ่งจัดแบ่งตามสถานที่ (การเดินทางเข้า หรือ เดินทางออกจากสถานที่) ตัวอย่างเช่น การเดินทางเข้าสู่สถานที่ (In-Bound Trip) การเดินทางออกจากสถานที่ (Out-Bound Trip) การเดินทางผ่านสถานที่ (Through Trip) การเดินทางภายในสถานที่ (Within-the-Cell Trip)

กระแสการจราจร (Transportation Flow) คือ การเคลื่อนที่ของยานพาหนะบนโครงสร้างพื้นฐานการจราจรไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง

ความหนาแน่นการจราจร (Transportation Density) คือ จำนวนยานพาหนะที่เกิดจากกระแสการจราจรในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง บนเส้นทางหรือส่วนของเส้นทางเส้นใดเส้นหนึ่ง
เมื่อเราทราบถึงความหมายของการจราจร ขั้นต่อไปต้องออกแบบระบบสารสนเทศในรูปแบบของสัญลักษณ์ และมีการประเมินการรับรู้สัญลักษณ์การจราจร เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของการประเมินการรับรู้ทันที และนำผลที่ได้มาเป็นแนวทางพัฒนาความเข้าใจในการออกแบบระบบการแก้ปัญหาการจราจรภายในโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพในการศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายนั้นผู้วิจัยจึงต้องศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยจำเป็นจะต้องทราบเกี่ยวกับการสื่อความหมายด้วยภาพหรือที่เราเรียกว่า “สัญลักษณ์” ตลอดจนไปถึงความหมายของคำว่า “สัญรูป” (Icon) และเจาะลึกลงไปถึงพื้นฐานและทฤษฎีเกี่ยวกับสัญลักษณ์ภาพและสัญศาสตร์ เพื่อให้ทราบสามารถทำความเข้าใจธรรมชาติของเครื่องหมายในระดับต่าง ๆ
การทำความเข้าใจใน เครื่องหมายและสัญลักษณ์ระดับต่าง จำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจเรื่องการรับรู้ (perception) ซึ่งแต่ละคนจะมีความสามารถในการรับรู้ต่างกันขึ้นอยู่ กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ประสาทสัมผัส สภาพแวดล้อม ความคิด อารมณ์ และประสบการณ์ที่เป็นตัวกำหนดการรับรู้ ตลอดรวมไปจนถึงขั้นตอน และวิธีการในการออกแบบ ในด้านการสื่อสารโต้ตอบระหว่างสื่อ ดิจิทัล (Digital) กับผู้ใช้งาน หลักการด้านสื่อสารปฏิสัมพันธ์ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งาน ที่ออกแบบมาได้มีประสิทธิภาพ ง่ายต่อการเรียนรู้ ลดขั้นตอนกระบวนการใช้งาน จดจำได้ง่าย ผิดพลาดน้อยที่สุด ตอบสนองความพอใจต่อผู้ใช้มากยิ่งขึ้น ทำให้เข้าใจและรับรู้ได้ง่ายมากขึ้น ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับสัญรูป พฤติกรรมการใช้ การออกแบบและความทรงจำ และการตอบสนอง สัญรูปและอื่น ๆ มีดังต่อไปนี้

เครื่องหมายและทฤษฎีเกี่ยวกับสัญศาสตร์ (Sings and Semiology)
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาและทำความเข้าใจ การทำงานของระบบของเครื่องหมายต่าง ๆ โดยจะเป็นการสำรวจถึงหลักตรรกะ และ ระเบียบวิธีการที่อยู่เบื้องหลังการสื่อสารเพราะจะแสดงให้เห็นว่า มนุษย์จะสามารถทำความเข้าใจเครื่องหมายได้อย่างไร ผ่านกระบวนการสัญศาสตร์หรือ Semiology ซึ่งเป็นกระบวนการที่นำมาวิเคราะห์เรื่องภาษาหลักการ นำมาใช้วิเคราะห์เครื่องหมายภาพต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจ การแปลความหมาย ของสัญรูป (Icon)
สัญญศาสตร์ (Semiology) หมายความถึง การสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ ที่วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเครื่องหมายต่าง ๆ ซึ่งมีการแปลความหมายผ่านกฎเกณฑ์และโครงสร้างของภาษาหรือ “คำ” เป็นระบบเครื่องหมายที่มีอิทธิพลมากที่สุดสำหรับมนุษย์ ซึ่ง โลกของเรานี้ยังคงเต็มไปด้วยระบบเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น สัญญาณไฟจราจร เครื่องหมายจราจร แถบป้ายที่คลิกไปยังที่ต่าง ๆ บนเว็บไซต์ การเรียบเรียง การตัดต่อ และแบบแผนการใช้ภาพในงานภาพยนตร์และโทรทัศน์ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เสื้อผ้า สไตล์ของทรงผม สัญญาณมือ รหัสมอส ที่ใช้กับโทรเลข และอื่น ๆ อีกมากมาย รูปแบบทั้งหมดของสื่อคือ ระบบของเครื่องหมาย ซึ่งเราสามารถนำมาวิเคราะห์ได้โดยการใช้หลักการทางสัญญศาสตร์

สัญลักษณ์(Sign)และสัญรูป (Icon)
สัญลักษณ์ เป็นการสื่อความหมายด้วยภาพ โดยเป็นการแจ้งให้ทราบหรือบอกให้รู้ โดยต้องมีการสร้างจิตนภาพพร้อมกันระหว่างผู้ส่งสาร คือนักออกแบบกราฟิกและผู้รับสาร คือผู้ใช้สื่อนั้น ๆ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผลิตสื่อต่างยอมรับว่าอิทธิพลที่มีผลต่อแรงบันดาลใจของผู้รับสาร ประกอบด้วยเงื่อนไขหลายประการ เช่น การกำหนดรูปแบบ การสร้างสรรค์ การนำเสนอเนื้อหาสาระ การสร้างภาพลักษณ์ ความโดดเด่น แปลกตา เร้าใจ น่าเชื่อถือ
สัญลักษณ์มีบทบาทและอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการใช้สัญลักษณ์นั้นเป็น องค์ประกอบสำคัญของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในความหมายของ สัญรูป (Icon) สัญรูป หรือ Icon เป็นกราฟิก (Graphic) ที่ได้รับการออกแบบที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ส่งผลเลิศ ต่อการสร้าง การปฎิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้ส่งสารและรับสารเพราะสามารถโน้มน้าวให้ผู้รับเกิดความสนใจและยอมรับในความหมายนั่น ๆ นอกจากนี้ยังมีคุณค่าในด้านอื่น ๆ เพราะจะช่วย กระตุ้นความคิดและการตัดสินใจที่ต้องใช้ความรวดเร็วในการโต้ตอบระหว่างการใช้งานเป็นผลให้ผู้ใช้มีการเรียนรู้จดจำ แต่การใช้งาน สัญรูป บนโทรศัพท์มือถือ ให้ประสบผลตามที่ต้องการได้นั้น ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ในมนุษย์ที่มีระดับความเข้าใจที่ แตกต่างกัน

การรับรู้ และทฤษฎีการรับรู้(Perception)
การเห็น เป็นสิ่งแรกในการศึกษางานวิจัยครั้งนี้ ซึ่งจะนำไปสู่การประเมิน การรับรู้สัญรูปดังนั้น การเห็น จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการเห็นเป็นกระบวนการที่ทำให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และจะเป็นตัวกำหนด อุปสรรคต่อการเรียนรู้ การรับรู้ (Perceptoion) หมายถึง การได้รู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา จากการสัมผัส การชิม การดม การบอกความรู้สึกหนักหรือเบา และการเห็น

การออกแบบปฏิสัมพันธ์ (Interface Design)
การออกแบบในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีต่าง ๆ มีบทบาทต่อการออกแบบที่มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ มาเป็นเครื่องมือ สร้างสรรค์งานออกแบบต่าง ๆ และในอีกแง่หนึ่ง งานออกแบบบางประเภท นักออกแบบอาจจะต้องเป็นผู้กำหนดรูปร่างหน้าตา ของตัวโปรแกรม อีกด้วย นั่นคือ การออกแบบ กราฟิกบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ในสื่อ ดิจิทัล (Digital) ต่าง ๆ ที่มีรูปแบบแตกต่างกัน เช่น การออกแบบหน้าจอโปรแกรม (Applications Programs) ต่าง ๆ บนจอคอมพิวเตอร์ และการออกแบบสื่อผสม เช่น เมนูการใช้มือถือ และเมนูในการใช้เครื่องไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ เครื่องเล่น VCD เครื่องเล่น MP3 ตู้เย็น ไมโครเวฟ ฯลฯ การออกแบบต่าง ๆ เหล่านี้ จุดเด่นจะเน้นในด้านการสื่อสารโต้ตอบ กับผู้ใช้งาน โดยหลักการด้านสื่อสาร การออกแบบ ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างกราฟิก กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ และหน้าจอมือถือกับผู้ใช้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานสื่อ ดิจิทัล ที่ออกแบบมาได้อย่างสะดวกและง่ายดายมากยิ่งขึ้น 18
Interface Design คือ การออกแบบ ปฏิสัมพันธ์สื่อสารให้เกิดความเหมาะสมระหว่างอุปกรณ์กับคนซึ่งเป็นผู้ใช้อุปกรณ์นั้น เช่น ถ้าออกแบบกรรไกรรูปแบบใหม่ขึ้นมา ผู้ใช้ต้องสามารถรู้ถึงวิธีการใช้งานด้วยตนเอง ว่าเครื่องมือดังกล่าวไว้ใช้ตัด และใช้งานอย่างถูกต้อง



เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

        นายมานิต เปนะนาม(2551) ได้ศึกษาเรื่อง การออกแบบสารสนเทศบนแผนที่สัมผัสสำหรับเด็กบกพร่องทางสายตาโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ พบว่า มีความสอดคล้องกับเรื่องที่สนใจหลายประการ





Content 1| Content 2| Content 3